วันอาทิตย์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2554

เทคโนโลยีเกี่ยวกับกล้องไอพี


IP CAMERA คืออะไร

            IP  Camera มันก็คือกล้อง CCTV ที่รวมความสามารถของคอมพิวเตอร์ไว้ในตัวกล้อง เป็นหนึ่งเดียวกัน กล้องไอพี จะเก็บภาพสถานการณ์สดๆ และยิงผ่านไปบน ระบบเครือข่าย IP และอนุญาติให้ผู้ใช้สามารถมองเห็นเหตุการณ์ จากระยะไกล และสามารถจัดเก็บภาพเหตุการณ์นั้น รวมถึงการควบคุมหรือเซ็ตกล้องผ่านทางระบบ IP ได้

            IP Camera จะมี IP Address เป็นของตัวเอง (ค่า Default 192.168.0.99) ให้เราคิดว่า IP Address ก็เหมือนกับบ้านเลขที่ของเรา มันทำให้ใครต่อใครรู้ว่าเราอยู่ที่ไหน ซึ่งก็เหมือนกับในกรณีของ IP Address ผู้ใช้แค่ทราบ ข้อมูล IP ของกล้องเท่านั้นก็สามารถเรียกดู ข้อมูลภาพจากกล้องได้โดยแค่พิมพ์ IP Address ของกล้องไปบน Intrenet Explorer

            IP Camera ไม่จำเป็นต้องต่อกับคอมพิวเตอร์อยู่ตลอดเวลา (ซึ่งจะต่างจากเว็บแคม เพราะมันจำเป็นต้องต่อกับ คอมพิวเตอร์) มันสามารถทำงานได้ด้วยตัวของมันเอง และสามารถที่จะเอาไปติดตั้งที่ไหนก็ได้ ที่มีระบบ Network ที่มากไปกว่านั้นก็คือ กล้อง IP Camera ยังมีฟังก์ชั่นเพิ่มเติมการทำงานอื่นๆ อีกมากมายเช่น 
1.

2.


3.


4.
ฟังก์ชั่นตรวจวัดการเคลื่อนไหว หากพบว่ามีสิ่งผิดปกติมันจะถ่ายภาพเก็บไว้หรือไม่ก็ alarm เตือน หรือส่ง mail ไปยังผู้ดูแล
ฟังก็ชั่นเสียง กล้อง IP Camera ยังมีความสามารถที่จะส่งข้อมูลภาพและเสียงได้พร้อม
กัน (บางรุ่นไม่ Support)
ฟังก์ชั่น Input และ Output ซึ่งถือว่าเป็นฟังก์ชั่นอรรถประโยชน์ ผู้ใช้สามารถประยุกต์
ได้หลายแบบ
ฟังก์ชั่น Serial Port สำหรับผู้ใช้ที่ต้องการจะเอากล้องไปติดกับตัวคอนโทรล Pan/Tilt


Wireless 802.11g
1.
SSID Service Set Identifier
คือ การกำหนดชื่อของการเชื่อมต่อในวง Wireless
2.
Infrastructure
คือ การเชื่อมต่อผ่าน access point
3. 
Ad-hoc
คือ การเชื่อมต่อแบบ peer-to-peer
4.
Tx Rate
คือ อัตราในการส่งข้อมูล
5.
Security
WEP (Wired Equivalent Privacy)
WPA-PSK (Wi-Fi Protected Access-PreShared Key)

ความหมายของโปรโตคอล

IP (Internet Protocol )
            IP เป็นโปรโตคอลในระดับเน็ตเวิร์คเลเยอร์ ทำหน้าที่จัดการเกี่ยวกับแอดเดรสและข้อมูล และควบคุมการส่งข้อมูลบาง อย่างที่ใช้ในการหาเส้นทางของแพ็กเก็ต และสามารถเปลี่ยนแปลงเส้นทางได้ในระหว่างการส่งข้อมูล และมีระบบการแยก และประกอบดาต้าแกรม (datagram) เพื่อรองรับการส่งข้อมูลระดับ data link ที่มีขนาด MTU (Maximum Transmission Unit) ทีแตกต่างกัน ทำให้สามารถนำ IP ไปใช้บนโปรโตคอลอื่นได้หลากหลาย เช่น Ethernet ,Token Ring หรือ Apple Talk

            การเชื่อมต่อของ IP เพื่อทำการส่งข้อมูล จะเป็นแบบ connectionless หรือเกิดเส้นทางการเชื่อมต่อในทุกๆ ครั้ง ของการส่งข้อมูล 1 ดาต้าแกรม โดยจะไม่ทราบถึงข้อมูลดาต้าแกรมที่ส่งก่อนหน้าหรือส่งตามมา แต่การส่งข้อมูลใน 1 ดาต้าแกรม อาจจะเกิดการส่งได้หลายครั้งในกรณีที่มีการแบ่งข้อมูลออกเป็นส่วนย่อยๆ (fragmentation) และถูกนำไปรวม เป็นดาต้าแกรมเดิมเมื่อถึงปลายทาง
IPv4 (Internet Protocol version 4)
            คือ internet protocol และ IP address ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมีขนาด 32 bit
IPv6 (Internet Protocol version 6)
            เป็น internet protocol และ IP address ที่กำหนดโดย IETF (Internet Engineer Task Force) และ กำลังจะนำมาใช้แทน IPv4 หรือที่เรียกว่า IPng (IP Next Generation) มีขนาด 128 bit ซึ่งออกแบบมาเพื่อ router ประมวลผลได้เร็วขึ้น เพิ่มกลไกตรวจสอบการใช้งาน ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลดีกว่าเดิม และปลอดภัยขึ้น
TCP (Transmission control  Protocol)
            Transmission Control Protocol (TCP) เป็นโปรโตคอลที่อยู่ในชั้น Transport Layer ทำหน้าที่จัดการ และควบคุมการรับส่งข้อมูล ซึ่งมีความสามารถและรายละเอียดมากกว่า UDP โดยดาต้าแกรมของ TCP จะมีความสัมพันธ์ ต่อเนื่องกัน และมีกลไกควบคุมการรับส่งข้อมูลให้มีความถูกต้อง (reliable) และมีการสื่อสารอย่างเป็นกระบวนการ เป็นแบบ ที่มีการกำหนดช่วงการสื่อสารตลอดระยะเวลาการสื่อสาร (connection-oriented) ซึ่งจะยอมให้มีการส่งข้อมูลเป็นแบบ Byte stream ที่ไว้ใจได้โดยไม่มีข้อผิดพลาด ข้อมูลที่มีปริมาณมากจะถูกแบ่งออกเป็นส่วนเล็กๆ เรียกว่า message ซึ่งจะ ถูกส่งไปยังผู้รับผ่านทางชั้นสื่อสารของอินเทอร์เน็ต ทางฝ่ายผู้รับจะนำ message มาเรียงต่อกันตามลำดับเป็นข้อมูลตัวเดิม TCP ยังมีความสามารถในการควบคุมการไหลของข้อมูลเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ส่ง ส่งข้อมูลเร็วเกินกว่าที่ผู้รับจะทำงานได้ทัน อีกด้วย
UDP (User Datagram Protocol)
            เป็นโปรโตคอลที่อยู่ใน Transport Layer เป็นการติดต่อแบบไม่ต่อเนื่อง (connectionless) มีการตรวจสอบ ความถูกต้องของข้อมูลแต่จะไม่มีการแจ้งกลับไปยังผู้ส่ง จึงถือได้ว่าไม่มีการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล อย่างไรก็ตาม วิธีการนี้มีข้อดีในด้านความรวดเร็วในการส่งข้อมูล จึงนิยมใช้ในระบบผู้ให้และผู้ใช้บริการ (client/server system) ซึ่งมีการสื่อสารแบบ ถาม/ตอบ (request/reply) นอกจากนั้นยังใช้ในการส่งข้อมูลประเภทภาพเคลื่อนไหวหรือการส่งเสียง (voice) ทางอินเทอร์เน็ต
HTTP (Hyper Text Transport Protocol) 
            HTTP คือโปรโตคอลที่ใช้สื่อสารระหว่าง client computer กับ server computer ทำให้ทั้งสองเครื่องรู้ว่าจะจัดการส่งข้อมูลไปอย่างไร โปรโตคอล HTTP นี้วิ่งอยู่บน TCP/IP อีกชั้นหนึ่ง รูปแบบการทำงานจะไม่มีการจองสาย โดย client จะเรียกข้อมูลจาก server โดยการส่ง request ไปแล้วจะตัดการติดต่อทันที จากนั้นจะรอจนกระทั่ง server ส่งข้อมูลมาให้ ประโยชน์ของการทำงานแบบไม่จองสายของ HTTP ทำให้ WWW server สามารถให้บริการ client ได้หลายๆ คนพร้อมๆ กัน การสื่อสารของ WWW จึงมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ICMP (Internet Control Message Protocol)
            ICMP เป็นโปรโตคอลที่ใช้ในการตรวจสอบและรายงานสถานภาพของดาต้าแกรม (Datagram) ในกรณีที่เกิด ปัญหากับดาต้าแกรม เช่น เราเตอร์ไม่สามารถส่งดาต้าแกรมไปถึงปลายทางได้ ICMP จะถูกส่งออกไปยังโฮสต้นทาง เพื่อ รายงานข้อผิดพลาด ที่เกิดขึ้น อย่างไรก็ดี ไม่มีอะไรรับประกันได้ว่า ICMP Message ที่ส่งไปจะถึงผู้รับจริงหรือไม่ หากมีการส่งดาต้าแกรมออกไปแล้วไม่มี ICMP Message ฟ้อง Error กลับมา ก็แปลความหมายได้สองกรณีคือ ข้อมูลถูกส่งไปถึงปลายทางอย่างเรียบร้อย หรืออาจจะมีปัญหา ในการสื่อสารทั้งการส่งดาต้าแกรม และ ICMP Message ที่ส่งกลับมาก็มีปัญหาระว่างทางก็ได้ ICMP จึงเป็นโปรโตคอลที่ไม่มีความน่าเชื่อถือ (unreliable) ซึ่งจะเป็นหน้าที่ของ โปรโตคอลในระดับสูงกว่า Network Layer ในการจัดการให้การสื่อสารนั้นๆ มีความน่าเชื่อถือ
                                  ในส่วนของ ICMP Message จะประกอบด้วย Type ขนาด 8 บิต Checksum ขนาด 16 บิต และส่วนของ Content ซึ่งจะมีขนาดแตกต่างกันไปตาม Type และ Code


----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

สบายตากว่า  ล้ำหน้าอีกขั้นด้วย  Cinema  3D  มอนิเตอร์


LG  Cinema 3D Monitor ขนาด 23 นิ้ว
              Cinema 3D Monitor LG  D42P  ที่เหนือกว่าจอสามมิติทั่วไป  ที่อาจทำให้สายตาของคุณเมื่อยล้า  LG D42P   มาพร้อมแว่นสามมิติ  ที่ใช้เทคโนโลยี  (Film Patterned  Retarder)  ตัดปัญหาเรื่องคลื่นอิเล็กตรอน  ที่รบกวนสมอง  น้ำหนักเบา  ไม้ต้องชาร์จแบตเตอร์รี่  พร้อมได้รับการรับรองภาพไม่กระพริบ  จากสถาบัน  TUV  คุณจึงรับชมภาพสามมิติได้อย่างสบายตา  ต่อเนื่องเต็มอารมณ์อย่างยิ่งขึ้น  LG D42 ทางออกสำหรับภาพ 3  มิติสมบูรณ์
          
แหล่งที่มา  : 
http://www.securitythai.com/vivotek-new/technology.php                                                                     




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น