วันอาทิตย์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

บุคคต้นแบบ"หมอต้วง กรพรหม แสงอร่าม"





"โตขึ้นอยากเป็นอะไร ?"

   ...หมอ ครู พยาบาล ทหาร ตำรวจ พ่วงท้ายด้วย แอร์โอสเตส อาชีพเบสิกที่เรามักจะเลือกตอบออกไปเมื่อครั้งยังเป็นเด็ก  แต่ถ้ามีใครมาถามคำถามเดียวกันนี้ตอนโต คำตอบสำหรับคำถามนี้อาจยากขึ้น...ฉันอยากเป็นอะไรกันนะ...บางคนอาจต้องใช้เวลาเกือบทั้งชีวิตเพื่อค้นหาคำตอบนี้

          แต่สำหรับ หมอต้วง กรพรหม แสงอร่าม อดีตนักศึกษาแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่จบการศึกษาด้วยวัยเพียง 21 ปี ปัจจุบัน หมอต้วง เป็นศัลยแพทย์ทรวงอกหัวใจ กลุ่มแพทย์สาขาที่ขาดแคลน  เขามีความชัดเจนในสิ่งที่อยากเป็นตั้งแต่เด็กจนโต และนั่นไม่ใช่อาชีพ "หมอ" หากแต่เป็นอาชีพ "นักบิน" ที่ใฝ่ฝันมาตั้งแต่จำความได้
          
          "ตอนเด็ก ๆ ไม่ได้อยากเป็นหมอ แต่ที่บ้านอยากให้เป็น เพราะที่บ้านยังไม่มีใครเป็นหมอ คือที่บ้านมีนักบินอยู่แล้ว 5-6 คน ทั้งพ่ออา และอาเขย แถมคุณปู่ยังเป็นทหารบก และนักบินพลเรือน ตัวเองก็เลยอยากเป็นนักบิน ตั้งแต่จำความได้ก็อยากเป็นทหารอากาศ แต่พอจะสอบเตรียมทหารจริง ๆ คุณพ่อคุณแม่ไม่ให้ พอไม่ให้ก็ไม่รู้จะทำอะไรแล้ว เขาอยากให้เป็นหมอก็เลยเป็นหมอ"


                           

          ทั้งนี้ หมอต้วง กรพรหม แสงอร่าม เป็นลูกชายคนเดียวของ "กรรณิกา ธรรมเกษร" อดีตพิธีกรชื่อดัง เมื่อราว ๆ ยี่สิบปีก่อน แต่ความน่าสนใจในตัวผู้ชายคนนี้ไม่ได้อยู่ที่การเป็นลูกชายของคนดัง แต่เป็นความมุ่งมั่นและตั้งใจที่จะทำในสิ่งที่ตัวเองรัก และการทำประโยชน์ให้สังคม แม้ว่าอาชีพหมอกับนักบิน ไม่น่าจะหลอมรวมอยู่ในคนเดียวกันได้ แต่ หมอต้วง กรพรหม แสงอร่าม ก็ทำได้ในที่สุด 


          หลังจากสอบชิงทุนและเรียนหมอจนจบ ปี  หมอต้วง กรพรหม แสงอร่าม ต้องใช้เวลา ปีในการใช้ทุน โดย หมอต้วง กรพรหม แสงอร่าม ได้ไปเป็น ผู้อำนวยการโรงพยาบาล ใน อ.บ้านสร้าง จ.ปราจีนบุรี เขาทำงานวันจันทร์ถึงศุกร์ ส่วนวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ หมอต้วง กรพรหม แสงอร่าม เลือกทำในสิ่งที่ใจรัก เขาขับรถจากปราจีนบุรีไปหัวหินเพื่อเรียนการบิน ตลอดช่วง ปี ควบคู่กับการเป็นหมอ ซึ่งนั่นก็ไม่ง่ายดายนัก

          "ไปอยู่ใหม่ ๆ ลูกน้องเกลียดผมมาก ช่วง เดือนแรก ไม่มีใครพูดด้วยเลย ต้องไปซื้อข้าวกินในตลาดคนเดียว เดินไปตรงไหน ลูกน้องวงแตกหมด ลือกันว่าผมดุเหมือนหมา ที่จริงเราก็ไม่ได้ตวาดใครนะ แค่พูดให้ได้คิดเอง เราอยากพัฒนาโรงพยาบาลให้ดีขึ้น แต่พวกเขาคงเคยชินกับระบบข้าราชการเก่า ๆ บางคนอายุมากกว่าพ่อผม คงเปลี่ยนยาก  ที่จริงผมไม่ได้ไปจู้จี้อะไร แค่จัดระเบียบในโรงพยาบาลใหม่ เช่น บอกฝ่ายธุรการว่า พอ โมงครึ่งให้ขีดเส้นแดงที่สมุดเซ็นชื่อเข้างาน แล้วเอาสมุดมาไว้ที่ห้องผม ใครมาสายให้มาเซ็นกับผมเอง หรืออย่างพื้นโรงพยาบาลสกปรก มีเศษขยะ ผมก็หยิบไม้กวาดมาทำเอง เรียกว่าทำหมดทุกอย่าง ตั้งแต่ตรวจคนไข้สั่งยาบริหารโรงพยาบาล เรื่องส้วมตัน หรือกระโถนคนไข้ ก็ต้องดูแลหมด ทำเยอะมาก มีปัญหามาก แต่เราพยายามทำทุกอย่างให้ลูกน้องเห็นความตั้งใจจริงว่าเราอยากพัฒนาโรงพยาบาลจริง ๆ จนช่วงปีสุดท้าย พวกเขาเริ่มเข้าใจ และงานโรงพยาบาลก็ไปได้ดี เราได้รางวัลโรงพยาบาลชุมชนดีเด่นภาคตะวันออก และเป็นโรงพยาบาลขวัญใจประชาชน" หมอต้วง กรพรหม แสงอร่าม เล่า

          และเมื่อใช้ทุนเสร็จ หมอต้วง กรพรหม แสงอร่าม ก็ไม่ได้ละทิ้งวิชาความรู้ในด้านการแพทย์ที่สั่งสมมา เขาเลือกเรียนต่อเฉพาะทางด้านการผ่าตัดหัวใจที่โรงพยาบาลจุฬาฯ เนื่องจากเห็นว่าเมืองไทยยังมีแพทย์สาขานี้น้อย หากเรียนสาขานี้เขาก็จะได้ช่วยชีวิตคนเยอะ ๆ โดยก่อนเรียนผ่าตัดหัวใจ หมอต้วง กรพรหม แสงอร่าม ต้องปูพื้นด้วยการเรียนผ่าตัดทั่วไปก่อน ปี จนจบและสามารถสอบได้ ถึงมาเรียนผ่าตัดหัวใจอีก ปี และ หมอต้วง กรพรหม แสงอร่าม ก็ทำสำเร็จ เขาได้เป็นหมอผ่าตัดหัวใจคนที่ 117 ของประเทศ  หลังจากนั้น หมอต้วง กรพรหม แสงอร่าม ก็เริ่มคิดถึงความฝันของเขาที่จะเป็นนักบินโดย หมอต้วง กรพรหม แสงอร่าม ตั้งใจว่าจะสอบเป็นนักบิน การบินไทย ให้ได้


          
         ทั้งนี้ หมอต้วง กรพรหม แสงอร่าม บอกว่า ช่วงที่สอบการบินไทย ใกล้กับสอบวุฒิบัตรผู้เชี่ยวชาญแพทย์ผ่าตัดหัวใจ ตำราแพทย์ที่ต้องอ่านกองสูงถึงเอว มีเวลาเตรียมตัวแค่เดือนเดียว ก็ต้องตะลุยอ่านหนังสือสลับไปสลับมา เช้าอ่านเรื่องเครื่องบิน กลางคืนอ่านหัวใจ เป็นอย่างนี้ทุกวัน ไม่ออกไปไหน และปรากฏว่า หมอต้วง กรพรหม แสงอร่าม  สอบผ่านทั้งสองอย่าง 

          "โอ้โฮดีใจมาก เชื่อไหมว่าหน้าเรายิ้มอยู่ประมาณเดือนหนึ่ง เรียกว่าตื่นมาหน้าเมื่อยมากเลย เพราะยิ้มมีความสุขมาก ที่สอบนักบินได้" หมอต้วง กรพรหม แสงอร่าม กล่าว

          ปัจจุบัน หมอต้วง กรพรหม แสงอร่าม ทำงานนักบินเป็นงานหลัก โดยเป็นนักบิน เทสต์ ไฟลท์ ประจำเครื่อง โบอิ้ง 77 ของการบินไทย มีไฟลท์บินไม่น้อยกว่า 60 ชั่วโมง/เดือน ขณะเดียวกัน หมอต้วง กรพรหม แสงอร่าม ก็แบ่งเวลาพักผ่อนส่วนตัวมาผ่าตัดคนไข้โรคหัวใจในโรงพยาบาลจุฬาฯ โรงพยาบาลนเรศวร พิษณุโลก และโรงพยาบาลเด็ก โดยไม่คิดค่าเหนื่อย

          "ตอนนี้ผ่าตัดน้อย 50-60 รายต่อปี ไม่มากไม่น้อย คือผมช่วยงานที่โรงพยาบาลจุฬาฯ กับโรงพยาบาลนเรศวร พิษณุโลก เป็นหลัก มีบางครั้งก็ไปช่วยที่โรงพยาบาลเด็กด้วย โดยจะใช้เวลาช่วงวันหยุด หรือถ้าเป็นกรณีฉุกเฉินจริง ๆ ผมจะเลือกไปผ่าตัด โดยจะขอลากิจ ลาป่วย ซึ่งทางการบินไทยก็เข้าใจดี เพราะผมคิดว่างานนักบินมีคนอื่นแทน เราไม่บินคนอื่นก็บินได้ แต่การผ่าตัดมันไม่ได้ ผมเคยคิดว่าหรือจะเลิกเป็นหมอดี เพราะความจริงเราใช้ทุนหมดแล้ว ไม่มีพันธสัญญาผูกพันใด ๆ แต่ในด้านคุณธรรมจริยธรรม เราก็คิดว่าการที่เราสอบทุนเรียนเราไปแย่งที่หมอคนอื่นมาหรือเปล่า ผมจึงทำตรงนี้ แต่ถ้าเลิกผ่าตัด ก็คิดว่าจะต้องให้ทุนกับเด็กสักคนให้เค้าเป็นหมอแทนผม มันถึงจะยุติธรรมกับสังคมกับโลก"
       
               จากบทสัมภาษณ์ข้างบนนี้จึงทำให้ข้าพเจ้าชื่นชมหมอต้วง  กรพรหม แสงอร่าม  เพราะหมอต้วงเป็นหมอที่มีความรับผิดชอบต่อภาระหน้าที่  และเป็นคนที่มีความยุติธรรมต่อสังคม   ซึ่งทำให้เราคิดได้ว่าการที่เราจะดำรงชีวิตอยู่ในโลกนี้ไม่ใช่แค่อยู่เพื่อยตายเท่านั้น  แต่หมายถึงการอยู่เพื่อนทำเพื่อนคนอื่น  เพื่อสังคม  และเพื่อตนเอง  ซึ่งทำให้เราเข้าใจในการใช้ชีวิต  และหมอต้วงยังเป็นบุคคลตันแบบที่ที่เราทุกคนควรเอาเป็นแบบอย่าง

ขอขอบคุณภาพประกอบจาก tvburabha.com,mcot.net 

การทดลองที่ 4 และ 5 การใช้งานคำสั่งวนรอบ

ข้อ7
#include<stdio.h>
#include<conio.h>
main()
{
      int num;
      char a='Y';
      do
      {
             printf("Enter Number : ");
             scanf("%d",&num);
             if(num%2==0)
             {
                   printf("%d is even number\n",num);
             }
             else
             {
                   printf("%d is odd numer\n",num);
             }
              printf("Do you want to countinue(Y/N) : ");
              //scanf("%c",&a);
              a=getche();
              printf("\n\n");
              printf("*************************\n\n");
      }
    
      while(a=='Y');
      getch();
}

วันเสาร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การทกลองที่ 4 และ 5 : การใช้งานคำสั่งวนรอบ

8.  จงเขียนโปรแกรมเพื่อรับน้ำหนัโดยใช้ค่ำสั่ง for แล้วหาค่าน้ำหนักรวม
 #include<stdio.h>
 #include<conio.h>
 main()
{
      int a,i,sum;
      sum=0;
      printf("Input\n\n");
      for(i=1;i<=5;i++)
      {
            printf("  Enter weight %d : ",i);
            scanf("%d",&a);
      }
      sum=sum+a;
      printf("\nOutput\n\n");
      printf("  Summary of weight = %d",sum);
      
      getch();
}


9. จงเขียนโปรแกรมหาผลบวกจาก 1  ถึงตัวเลขที่เราป้อนค่า
#include<stdio.h>
#include<conio.h>
main()
{
      int a,i,sum;
      sum=0;
      printf("Enter Nunber : ");
      scanf("%d",&a);
      for(i=1;i<=a;i++)
      {
            sum=sum+i;
      }
      printf("  Summation = %d",sum);
      
      getch();
}


10.  จงเขียนโปรแกรมเป็นรูปสี่แหลมตัวโดยใช้อักษร A ขนาดเท่ากับจำนวนตัวเลขแถว(row) และหลัก(column)  ที่รับเข้ามา
#include<stdio.h>
#include<conio.h>
main()
{
      int a,b,c,i;
      printf("Row = ");
      scanf("%d",&a);
      printf("Col = ");
      scanf("%d",&b);
      
      c=a*b;
      for(i=1;i<=c;i++)
      {
                       printf("A");
                       if(i%b==0)
                       {
                                 printf("\n");
                       }
       }
      getch();
}

11.  จงเขียนโปรแกรมเพื่อรับตัวอักขระ  และตัวเลขเฉพาะ 4-9  เพื่อแสดงผลตัวอักขระเป็นรูปสี่เหลี่ยม ขนาดเท่ากับจำนวนที่รับเข้ามา  ถ้าอยู่นอกช่วง 4-9  จะไม่แสดงผล  เช่น


#include<stdio.h>
#include<conio.h>
main()
{
      char a;
      int b,i;
      printf("Char = ");
      scanf("%c",&a);  
      printf("\nNumber = ");
      scanf("%d",&b);
    
      switch(b)
      {
               case 4 : case 5 : case 6 : case 7 : case 8 : case 9:
                for(i=1;i<=b*b;i++)
                {
                                  printf("%c",a);
                                   if(i%b==0)
                                   printf("\n");
                 }
      }
               
      getch();
}